ตัวอย่างการวิจารณ์วรรณคดี

บทร้องคู่  -  โยฮันนิสกับคอนสตันติโน๊ส
                                                โยฮัน  - ปากเป็นเอก            คอนส -  เลขเป็นโทร
                                                โยฮัน -  โบราณว่า             คอนส  -  หนังสือตรี
                                                โยฮัน-  มีปัญญา                     คอนส -  ไม่เสียหาย
                                                โยฮัน-  ถึงรู้มาก                     คอนส -  ไม่มีปาก
                                                โยฮัน-  ลำบากตาย                คอนส  -  มีอุบาย
                                                โยฮัน-  พูดไม่เป็น                                 คอนส-  เห็นป่วยการ
                                                โยฮัน-  ถึงเป็นครูรู้วิชา         คอนส-  ปัญญามาก
                                                โยฮัน- ไม่รู้จักใช้ปาก           คอนส-  ให้จัดจ้าน
                                                โยฮัน-  เหมือนเต่าฟังนั่งซื่อ                  คอนส-  ฮื้อลำคาญ
                                                โยฮัน วิชาชาญมากเปล่า    คอนส.-  ไม่เข้าที
                                                โยฮัน -  ใครช่างพูดพลิกแพลงเหมือนแรงมาก 
                                                คอนส.-คนนิยมลมปากมากเจียวพี่
พร้อมกัน  -  ถึงรู้น้อยถ้อยคำให้ขำดี  คงเป็นที่สมคะเนที่เฉโก 

                จากบทพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร   มหาวชิราวุธ  พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เรื่อง  วิวาหพระสมุท    ข้าพเจ้าได้นำมาเป็นตัวบทในการวิจารณ์ครั้งนี้     ตัวละครในเรื่อง  โยฮัน  มีเพื่อนอยู่คนหนึ่งชื่อว่าคอนส  ทั้งตัวละครทั้งสองนี้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่อง    ถ้าจะเปรียบก็เหมือนตัวร้ายในเรื่อง    คือมีความต้องการเพียงสิ่งเดียวนั่นคือ        ทำทุกอย่างให้อันโดรเมดามาเป็นคู่รักของตน       จึงใช้อุบายหลอกคนในเมืองว่าพระสมุทมาท่วงส่วย   เพื่อครอบครองนางอันโดรเมดา    คำประพันธ์แต่ละคำที่ใช้ในตัวบทจึงสัมผัสได้ว่าเป็นคำที่ใช้แสดงให้เห็นถึงการมีเล่ห์กลถึงตัวละครให้สื่ออารมณ์ที่ต้องการตัวนางอันโดรเมดาได้เป็นอย่างดี 
                เมื่อเรามาพิจารณาถึงตัวบท  อารมณ์รวมที่แสดงออกมานั่นคือความปิติยินดีที่ได้สร้างอุบายนี้  คำที่ใช้จึงบ่งบอกถึงความสาแกใจและหลงตัวเองของทั้งสองตัวละคร     ความคิดของทั้งสองตัวละครนี้ไม่ได้แตกต่างจากผู้คนในสังคม    การประพันธ์ไม่เน้นความหมายซ้อนเร้น  แต่เน้นที่การเปรียบเทียบให้เห็นภาพ    ราวกับว่าทั้งสองตัวละครนี้มีอยู่จริง     จึงสร้างความน่าเชื่อถือและหลงติดอยู่ในภาพจินตนาการของผู้ประพันธ์ได้เป็นอย่างดี 
แต่ในบ้างครั้งผู้อ่านอาจคิดในอีกมุมมองหนึ่งนั่นคือการได้รับข้อคิดให้กับตน  ในเรื่องของการพูด  เพราะสำนวนที่ใช้เป็นเหมือนการสอนผู้อื่น  ทั้งการเปรียบเทียบและการใช้คำ ทำให้ชวนคิดได้เป็นอย่างดี
          สิ่งที่สะท้อนอย่างหนึ่งคือการแย่งชิงเพื่อหญิงที่ตนรักคล้ายกับวรรณคดีหลายๆเรื่อง  เพียงแต่ว่าบริบทและเนื้อเรื่องต่างกัน  เพียงแต่ว่าเรื่องนี้ใช้ความคิด  การพูด  การกระทำ  ของคนทั่วไปมาเขียนร้อยเรียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น