กำแพงชั้นที่สอง...เขียนเป็นอย่างไร


กำแพงชั้นที่สอง...เขียนเป็นอย่างไร
การเขียนเป็นสิ่งที่ไม่ยากการเป็นเรื่องง่าย แต่สิ่งที่ยากนั่นคือการเขียนให้คนอ่านรู้เรื่องตรงกับที่ผู้เขียนต้องการสื่อสาร  ความไม่กระจ่างของข้อเขียนทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายของผู้เขียน  และทำให้เกิดการตีความผิดพลาด  ในทางตรงกันข้าม หากเราอ่านงานเขียนใดแล้วรู้สึกเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งตรงประเด็น  ได้อารมณ์ความรู้สึก ดังนั้นการที่เราจะสื่อสารข้อเขียนของเราไปสู่ผู้อ่านได้นั้น  เราต้องสามารถตอบตัวเองได้ว่า เราเป็นหรือไม่ ?”
เขียนแล้วคนอ่านหรือไม่?”
ไม่ว่าเราจะตอบตัวเองว่าเขียนเป็นหรือไม่เป็นคงไม่ได้เป็นข้อสรุปว่าเราควรเขียนหรือปฎิเสธไม่เขียนอีกเลยตลอดชีวิตแต่เป็นการตอบเพื่อให้เรารู้จักตนเองก่อนที่จะเริ่มต้นเดินก้าวต่อไปในโลกของการเขียนให้เป็น หากทุกคนเรียนรู้ ศาสตร์  และ  ศิลป์  ของการเขียน 
เป็น ศาสตร์เพราะ เป็นความรู้ที่สามารถฝึกฝนได้ 
เป็น ศิลป์  เพราะ  เป็นเทคนิควิธีการของผู้เขียนแต่ละคน  ดั้งนั้นหากเราต้องการพัฒนาทักษะการเขียนให้เป็นผู้เขียนเป็นเขียนเก่ง  และเขียนบทความได้ดีนั้น  เราควรเริ่มต้นแต่การฝึกฝนทักษะการเขียน  ข้อเสนอแนะนำที่อยากฝากให้ผู้อ่านปฎิบัติทุกวันจนเป็นนิสัยได้แก่ 

 1.เขียนให้มาก  วิธีการที่ง่ายที่สุดที่ขอแนะนำ  ให้เราจดบันทึกประจำวันแบบมีหัวข้อ  เป็นการดึงบางเรื่องที่พบ  บางประสบการณ์ที่ได้เผชิญในวันนั้น  อันเป็นเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ  ให้บทเรียน ข้อคิดใหม่  ให้แก่ชีวิต  โดยนำมากล่าวถึงในลักษณะของการเล่าเหตุการณ์และสิ่งที่ได้เรียนรู้  นอกจากการจดบันทึกแล้ว  อาจเป็นการเขียนเพื่อเล่าให้เพื่อนฟังอาจโดยการสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตที่นิยมในเวลานี้

2.อ่านให้มาก  เพื่อประโยชน์  2  ประการอันได้แก่
เพื่อเรียนรู้วิธีเขียน  เราจะเขียนได้ดี  หาเราสามารถแยกแยะความแตกต่างได้ระหว่างงานเขียนที่ดี  กับงานเขียนธรรมดา และงานเขียนที่ใช้ไม่ได้ 
เพื่อสะสมความรู้  ราจะเขียนบทความได้ดี  สิ่งสำคัญไม่เพียงแต่รู้วิธีเขียน  แต่เราต้องเป็น  ผู้รู้  ในเรื่องที่จะเขียนด้วย 

เซอร์ฟรานซิส  เบคอน  นักเขียนและนัก
ปรัญญาชาวอังกฤษ  กล่าวไว้ในความเรียงเรื่อง  “Of  Studies”  การอ่านทำให้คนได้รับเติมเต็มบริบูรณ์  การอภิปรายถกเถียงทำให้คนมีความพร้อม  และการเขียนทำให้คนทำให้เป็นคนที่คมชัด


 กำแพงชั้นที่สาม...มีคนอ่านหรือไม่?
                กำแพงชั้นที่สามที่เราต้องทะลวงไปให้ได้  นั่นคือการทำให้กลุ่มเป้าหมายได้อ่านข้อเขียนของเรา  ดังนั้นข้อเขียนที่ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ 
ผู้เขียนที่ดีจึงต้องเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารได้ตรงตามความมุ่งหมายมีความชัดเจนในเนื้อหา  สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่งสาร  ข้อสำคัญที่เราจะทำลายกำแพงนี้ได้ด้วยการตั้งคำถามกับตนเองก่อนว่า  เราเขียนหนังสือให้ใครอ่าน  และสิ่งที่เราต้องทำคือ
                รู้จักผู้อ่าน  ผู้เขียนที่ไม่ใช่คนที่อยากเขียนเรื่องอะไรก็เขียน  แต่ต้องคิดมากกว่านั้น  กล่าวคือ  เขาจะมีคำถามว่าจะเขียนนั้นเพื่ออะไร  เขียนไปทำไมและที่สำคัญ..เขียนเพื่อใคร
                เขียนเพื่อผู้อ่าน  ในฐานะของผู้เขียนที่ต้องการสื่อสารความคิดของตน  เราจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงผู้อ่านด้วย  โดยตระหนักว่า  หากต้องการสื่อสารแนวคิดนั้นให้กับกลุ้มเป้าหมาย  ต้อมีวิธีนำเสนอให้เรียบง่ายพอที่เขาจะรับได้  และรวดเร็วพอจะเข้าใจ  ไม่ใช่ซับซ้อนหรือยากต่อการเข้าใจ
                มั่นใจว่ามีคนอ่าน  หากเรามั่นใจว่าข้อเขียนของเราได้ลงตีพิมพ์แน่ ๆ ในสื่อใดสื่อหนึ่ง  เราย่อมมั่นใจได้ในระดับหน่างว่าจะมีผู้อ่านจำหนึ่งอย่างแน่นอน

สิ่งที่สำคัญที่เราต้องมีนั่นคือความพยายามอย่างไม่ย่อท้อ  นักเขียนที่ดีต้องมีความมุมานะ  ด้วยเหตุนี้เราจึงยึดคติที่ว่า
คนที่พ่ายแพ้ล้มเหลวมาแล้ว  99  ครั้ง  ครั้งที่  100  ชัยชนะอาจเป็นของเขาก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น